เมนู

มีอย่างต่าง ๆ ถือเอาประมาณในความเศร้าหมองนั้นแล้ว จึงยังความเลื่อมใส
ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ เลื่อมใสใน
ความเศร้าหมอง.

4. ธัมมัปปมาโณธัมมัปปสันนบุคคล บุคคลผู้ถือ
ธรรมเป็นประมาณ เลื่อมใสในธรรม เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นศีล เห็นสมาธิ เห็นปัญญา ถือเอาธรรมนั้น
เป็นประมาณแล้ว ยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือธรรมเป็น
ประมาณ เลื่อมใสในธรรม.

อรรถกถาบุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป เป็นต้น


บุคคลใด ย่อมกระทำรูปอันสมควรแก่สมบัติให้เป็นประมาณ เพราะ
เหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า รูปปฺปมาโณ แปลว่า ผู้กระทำรูปให้เป็นประมาณ.
บุคคลใด ย่อมยังความเลื่อมใสให้เกิดในรูปอันควรแก่สมบัตินั้น เหตุนั้น
บุคคลนั้นจึงชื่อว่า รูปปฺปสนฺโน แปลว่า ผู้เลื่อมใสในรูป.
บุคคลใดย่อมกระทำเสียงอันเป็นกิตติศัพท์ให้เป็นประมาณ เพราะเหตุ
นั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า โฆสปฺปมาโณ แปลว่า ผู้ถือเสียงเป็นประมาณ.
วินิจฉัยในคำว่า "อาโรหํ ว" เป็นต้น ก็คำว่า "อาโรหํ" ได้แก่
สูงขึ้นไป. คำว่า "ปริณาหํ" ได้แก่ มีรูปสมบัติอันสมบูรณ์โดยรอบ ปราศ-
จากความผอมและอ้วน. บทว่า "สณฺฐานํ" ได้แก่ ความเป็นของคงที่แห่ง
อวัยวะใหญ่น้อยทั้งหลาย ในที่ที่ควรแล้ว มีความยาว สั้น และกลมเป็นต้น.
บทว่า "ปริปูรึ" ได้แก่ ความไม่บกพร่องของอวัยวะทั้งหลายมีประการตาม

ที่กล่าวแล้ว หรือความเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยลักษณะ. บทว่า "ปรวณฺณนาย"
ได้แก่ เพราะการพรรณนาคุณ อันผู้อื่นเปล่งออกแล้วในที่ลับหลัง. บทว่า
"ปรโถมนาย" ได้แก่ การสดุดี (การยกย่อง) ที่ผู้อื่นกล่าวได้ด้วยสามารถ
แห่งการชมเชย มีการนิพนธ์ผูกเป็นคาถาไว้ เป็นต้น. บทว่า "ปรปสํสนาย"
ได้แก่ การสรรเสริญคุณที่ผู้อื่นกล่าวเฉพาะหน้า. บทว่า "ปรวณฺณหาริกาย"
ได้แก่ การนำการสรรเสริญคุณ ที่ผู้อื่นให้เป็นไปด้วยอำนาจการชมเชยต่อ ๆ
กันไป. บทว่า "จีวรลูขํ" ได้แก่ ความที่จีวรเป็นของเศร้าหมอง โดยภาวะมี
สีไม่ดีเป็นต้น . บทว่า "ปตฺตลูขํ" ได้แก่ ความที่ภาชนะเป็นของเศร้าหมอง
ด้วยสี สัณฐาน และพัสดุ. บทว่า "เสนาสนลูขํ" ได้แก่ ความที่เสนา-
สนะเป็นของเศร้าหมอง เพราะเว้นจากสมบัติของนักฟ้อนรำเป็นต้น. บทว่า
"วิวิธํ" ได้แก่ มีประการต่าง ๆ โดยความเป็นของอเจลก (ชีเปลือย) เป็น
ต้น. บทว่า "ทุกฺกรการกํ" ได้แก่ การกระทำสรีระของตนให้เร่าร้อน.
อปโร นโย อีกนัยหนึ่ง ก็บุคคล 4 จำพวกนี้ บุคคลผู้ถือประมาณ
ในรูปแล้วเลื่อมใส ชื่อว่า รูปปฺปมาโณ แปลว่า ผู้ถือรูปเป็นประมาณ. บทว่า
"รูปปฺปสนฺโน" แปลว่า ผู้เลื่อมใสในรูป ได้แก่ เป็นการกล่าวถึงเนื้อความ
ของบุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณนั้นนั่นแหละ. บุคคลผู้ถือเสียงเป็นประมาณ
แล้วเลื่อมใส ชื่อว่า โฆสปฺปมาโณ แปลว่า ผู้ถือเสียงเป็นประมาณ.
บุคคลผู้ถือประมาณในจีวรที่เศร้าหมอง และบาตรที่เศร้าหมองแล้วเลื่อมใส
ชื่อว่า ลูขปฺปมาโณ แปลว่า ผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ. บุคคลผู้
ถือธรรมเป็นประมาณแล้วก็เลื่อมใส ชื่อว่า ธมฺมปฺปมาโณ แปลว่า ผู้ถือ
ธรรมเป็นประมาณ. คำนอกจากนี้ เป็นการกล่าวถึงเนื้อความของบุคคล
จำพวกเหล่านั้นนั่นแหละ.

ก็สัตว์โลกทั้งหมดแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ที่ถือรูปเป็นประมาณมี 2
ส่วน ที่ไม่ถือมี 1 ส่วน. สัตว์โลกทั้งหมดแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ที่ถือเสียง
เป็นประมาณมี 4 ส่วน ที่ไม่ถือมี 1 ส่วน. สัตวโลกทั้งหมดแบ่งออกเป็น 10
ส่วน ที่ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณมี 9 ส่วน ที่ไม่ถือมี 1 ส่วน. สัตว์
โลกทั้งหมดแบ่งออกเป็นแสนส่วน ส่วนเดียวเท่านั้น ถือธรรมเป็นประมาณ
ส่วนที่เหลือไม่ถือธรรมเป็นประมาณ โลกสันนิวาสนี้ถือประมาณ 4 อย่าง
อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ในโลกสันนิวาสมีประมาณ 4 อย่างนี้ ผู้ที่ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายมีประมาณน้อย ที่เลื่อมใสมีมาก เพราะว่าบุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ
ชื่อว่า รูปอันนำมาซึ่งความเลื่อมใส ยิ่งกว่ารูปของพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มี.
ผู้ที่ถือเสียงเป็นประมาณ ชื่อว่า เสียงอันนำมาซึ่งความเลื่อมใสยิ่งกว่า
เสียงประกาศเกียรติคุณของพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มี.
ผู้ที่ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ ชื่อว่า ความเศร้าหมองอื่นอันนำ
ความเลื่อมใสมา ที่ยิ่งกว่าความเศร้าหมองของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระ-
พุทธเจ้า ผู้ละผ้าทั้งหลายที่เขาทอในแคว้นกาสี ละภาชนะทองคำอันมีค่ามาก
และละปราสาทอันประกอบด้วยสมบัติทั้งปวงอันสมควรแก่ฤดูกาลทั้ง 3 แล้ว
เสพผ้าบังสุกุลจีวร บาตรอันสำเร็จด้วยศิลา และเสนาสนะมีโคนไม้เป็นต้น
ย่อมไม่มี.
ผู้ที่ถือธรรมเป็นประมาณ ชื่อว่า คุณมี ศีลเป็นต้นอื่น อันนำมาซึ่ง
ความเลื่อมใส อันยิ่งกว่าคุณมีศีลเป็นต้น ของพระตถาคต ผู้มีศีลาที่คุณอันไม่ทั่ว
ไปในโลกนี้ตลอดเทวโลก ย่อมไม่มี ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำรง
อยู่ เป็นเสมือนหนึ่งถือเอาโลกสันนิวาสมีประมาณ 4 นี้ ด้วยกำมือฉะนี้แล.

[134] 1. บุคคล ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อ
ประโยชน์คนอื่น เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง แต่ไม่
ชักชวนคนอื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง แต่ไม่
ชักชวนคนอื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง แต่
ไม่ชักชวนคนอื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง
แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
ด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคลอย่าง
นี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น.
2. บุคคล ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น แต่ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ตน เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง แต่ชักชวน
ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง แต่ชักชวนคน
อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง แต่ชักชวนคน
อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง แต่ชักชวนคนอื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง แต่
ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์คนอื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน.
3. บุคคล ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประ-
โยชน์คนอื่นด้วย เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเองด้วย ชักชวน
ถึงพร้อมด้วยศีลด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเองด้วย ชักชวนคนอื่นให้
ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเองด้วย
ชักชวนคนอื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตน
เองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ-
ญาณทัสสนะด้วยตนเองด้วยชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย
บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย.

4. บุคคล ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์คนอื่น เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ชักชวน
ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีลไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง ไม่
ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น.

อรรถกถาบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนเป็นต้น


วินิจฉัยในดีว่า ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นต้น. บทว่า
"สีลสมฺปนฺโน" ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมแล้ว คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล. ในบุคคล
ผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ในคำว่า ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วย